[ ข้อมูลทั่วไป ][ ข้อมูลที่พัก ][ สถานที่ท่องเที่ยว ]

สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงราย :

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
                        
คือสิ่งที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติและมีความสวยงามเหมาะสมที่จะใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีการคมนาคมสะดวกและปลอดภัย สามารถสร้างความประทับใจ ให้กับผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของเชียงราย ได้แก่

๑.วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ อยู่บนยอดเขาดอยช้าง ตำบลแม่กรณ์ เป็นน้ำตกที่สูง และสวนที่สุดของ จังหวัดเชียงราย ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำตกตาดหมอก" มีความสูงถึง ๗๐ เมตร
๒.อุทยานแห่งชาติดอยหลวง (น้ำตกปูแกง) อยู่ในเขตตำบลแม่เย็น น้ำตกเป็น น้ำตกใหญ่มากแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงรายน้ำไหลจากภูเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นชั้น สวยงามมากมีถึง   ๑๑ ชั้น         
  ๓.ดอยแม่สลองหรือดอยสันติคีรี เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวจีน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกองพล ๙๓ ที่ถูกปราบปราม ถอยร่นมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ในสมัยเหมาเจ๋อตุงมาอยู่ที่ฝี่งดอยแม่สลองตั้งแต่ปี ๒๕๐๔
  ๔.ถ้ำปุ่ม ถ้ำปลา ถ้ำเสาหินพญานาค ตั้งอยู่ที่ดอยจ้อง หมู่ ๑๑ ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย
  ๕.วนอุทยานขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ที่บ้านจ้อง หมู่ ๑ ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย
  ๖.สถูปและจุดชมวิวดอยช้างมูบ ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันบนดอยช้างมูบริมถนนสายพระธาตุ ดอยตุงบ้านผาหมี ห่างจาก ทางแยกพระธาตุดอยตุง ๔ กม. ชมวิวดอยช้างมูบเป็นจุดที่สูงที่สุด ในโครงการพัฒนาดอยตุง
   ๗.ดอยเชียงเมี่ยงและสบรวก ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ จากดอยเชียงเมี่ยงต่อไปทาง ทิศเหนือ อีกประมาณ ๕๐๐ เมตร จะถึงสบรวก ดินแดนแห่งสามเหลี่ยมทองคำ เป็นบริเวณที่ แม่น้ำโขงกั้นดินแดนระหว่างประเทศไทย และประเทศลาว มาพบกับแม่น้ำรวก ซึ่งกั้นดินแดน ระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า
 ๘.ดอยผาตั้ง อยู่ในเขตอำเภอเวียงแก่น ห่างจากเชียงราย ๑๕๙ กม. อยู่สูงจากระดับน้ำ ทะเล ประมาณ ๑๘๐๐ เมตร อุณหภูมิในฤดูหนาวราว ๔ องศาเซลเซียส สภาพลมแรงเพราะ อยู่บนดอยผาที่สูงชัน
   
        ๙.ภูชี้ฟ้า เป็นจุดชมวิวอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากดอยผาตั้งลงมาทางทิศใต้ ๒๐ กิโลเมตร ลักษณะเป็นยอดเขา ที่แหลมชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้า บนดอยภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งหญ้ากว้างถึง ๑ ตารางกิโลเมตร โดยใช้เส้นทางเชียงราย - เทิง ระยะทาง ๖๔ กิโลเมตร และจากเทิง - ปางค่า ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตร จากนั้นเป็นทางลูกรัง ถึงภูชี้ฟ้าระยะทาง ๑๙ กิโลเมตร หรือใช้เส้นทาง ๑๐๒๑ เทิง - เชียงคำ ระยะทาง ๒๗ กิโลเมตร ก่อนถึงเชียงคำ ๖ กิโลเมตร ทางแยกไปวนอุทยานน้ำตกภูซาง (๑๐๙๓) บ้านฮวกอีก ๑๙ กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปยังภูชี้ฟ้าอีก๓๐ กิโลเมตร (ควรใช้จี๊ปหรือกะบะ) แล้วเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ ๑ กิโลเมตรกว่าจึงจะถึงจุดชมวิว ทางเดินเท้ามีสภาพสูงชัน มากและ เดือน กุมภาพันธ์ จะมีงานดอกเสี้ยวบาน หรือ งานประเพณีปีใหม่ม้งภูชี้ฟ้า เป็นพื้นที่ในความดูแลของ กองทัพภาคที่ ๓ มีบ้านพัก ๔๐ หลัง มีห้องน้ำในตัวแต่ไม่มีเครื่องนอน ไฟฟ้าและร้านอาหาร นักท่องเที่ยวต้องเตรียม อุปกรณ์ของใช้ที่จำเป็นต่าง ๆ ไปเอง และมีสถานที่ตั้งแค้มป์ด้วย

๒. แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และศาสนสถาน

วัดที่สำคัญ
     ๑. วัดมหาชินพระธาตุเจ้าดอยตุง ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย ห่างจากตัวเมืองเชียงราย ๔๘ กม. เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) องค์พระพุทธเจ้าเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาว
เชียงราย ประเพณีนมัสการพระธาตุเป็นประจำทุกปีในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ (เดือน ๖ เหนือ)

       ๒. วัดพระแก้ว  ที่ตั้งถนนไตรรัตน์ เป็นวัดที่ค้นพบพระแก้วมรกต หรือพระพุทธมณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระแก้วกรุงเทพมหานคร

 ๓. วัดพระสิงห์   ที่ตั้งถนนท่าหลวง เดิมเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์เชียงใหม่ พระอุโบสถเป็นรูปทรงแบบศิลปะล้านนาสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามหาพรหม บานประตูออกแบบ โดยคุณถวัลย์ ดัชนี
  ๔. วัดดอยงำเมือง  ตั้งบนดอยงำเมือง เป็นที่ประดิษฐานกู่พระเจ้าเม็งราย (บรรจุอัฐิพ่อขุนเม็งรายมหาราช)
  ๕. วัดกลางเวียง   ตั้งอยู่ที่ ถนนอุตรกิจ พระอุโบสถเป็นรูปทรงแบบศิลปะล้านนาที่สวยงาม
  ๖. วัดมิ่งเมือง    พระอุโบสถเป็นรูปทรงแบบศิลปะล้านนาที่สวยงาม
  ๗. วัดศรีเกิด    ตั้งอยู่ที่ ถนนศรีเกิด พระอุโบสถเป็นรูปทรงแบบศิลปะล้านนาที่สวยงาม

  ๘. วัดร่องขุ่น ตั้งอยู่ที่ บ้านร่องขุ่น อำเภอเมือง ออกแบบและ ก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ มีลักษณะเด่นคือพระอุโบสถสีขาว ตกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาว หน้าบันประดับด้วยพญานาค
มีงวงงาดูแปลกตา ภาพจิตรกรรมฝาผนังมีความสวยงาม แต่ยังไม่แล้วเสร็จ


๓. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

พิพิธภัณฑ์
 ๑. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งเดียวของจังหวัดเชียงราย อยู่ในความดูแลของ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นที่รวบรวม
โบราณวัตถุที่ได้มาจากบริเวณเมือง โบราณเชียงแสนและพื้นที่ใกล้เคียง เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ - อาทิตย์
 ๒. พิพิธภัณฑ์ไร่แม่ฟ้าหลวง
ตั้งอยู่ที่ บ้านงิ้ว ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง เปิดให้เข้าชมทุกวัน อยู่ในความดูแลของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
๓. พิพิธภัณฑ์อูบคำ ตั้งอยู่ที่ ถนนหน้าค่ายเม็งราย เป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนของอาจารย์จุลศักดิ์ สุริยะไชย ที่ได้รวบรวมข้าวของ
เครื่องใช้ของชนชาติไต และกษัตริย์ในอดีต ประมาณ ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา รวมทั้งโบราณวัตถุ ที่หาชมได้ยาก เช่น
บัลลังก์ของกษัตริย์ ฉลองพระองค์ทองคำแท้ เครื่องประดับเงิน เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวัน
 ๔. พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
ตั้งอยู่ที่ ถนนธนาลัย ดำเนินงานโดยสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชนจังหวัดเชียงราย จัดแสดงและจัดฉายสไลด์โชว์วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัตถุสิ่งของเครื่องมือ เครื่องใช้ ชุดแต่งกายประจำเผ่า รวมทั้งของมูลที่น่ารู้ ของชนเผ่า ๖ เผ่า คือ อาข่า ลีซอ กะเหรี่ยง มูเซอ เย้า และม้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน
 ๕. พิพิธภัณฑ์บ้านดำ
ตั้งอยู่ที่ ตำบลนางแล อำเภอเมือง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นบ้านในเนื้อที่ กว่า ๑๐๐ ไร่ประกอบด้วยอาคารแบบ สถาปัตยกรรม ท้องถิ่น ภาคเหนือกว่า ๒๕ หลัง จัดแสดงศิลปะพื้นบ้านซึ่งเป็นงานสร้างสรรของช่างท้องถิ่นตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
 ๖. พิพิธภัณฑ์พระ
- ประทีปโกลด์แลนด์
ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑๙๑ หมู่ ๑ ถนนแม่จัน - เชียงแสน ตำบลจอมสวรรค์ อำเภอแม่จัน จัดแสดงพระพุทธรูปโบราณและ พระเครื่อง เก่าแก่ทุกยุคทุกสมัยนับจากยุคคันธราษฎร์ ทวารวดี เชียงแสน สุโขทัย อู่ทอง ลพบุรี อยุทธยา รัตนโกสินทร์ จำนวนมากมายเกินกว่า ๕๐๐ องค์เปิดให้เข้าชมทุกวัน (เปิดให้เข้าชมมิได้จำหน่าย)
 ๗. ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง อำเภอแม่จัน
ตั้งอยู่ที่ อำเภอแม่จัน (ทางไปอำเภอแม่อาย) จัดเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบย้อนยุค เป็นที่ตั้ง ฆ้องชัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ เมตร น้ำหนัก ๓ ตัน การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากประเทศ ไทย ลาว จีน เปิดให้เข้าชมทุกวัน
  ๘. หอพิพิธนิทัศน์ (หอฝิ่น)
ตั้งอยู่ที่ บ้านสบรวก ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของฝิ่นตั้งแต่อดีต
เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวเข้าชมแล้ว
แหล่งประวัติศาสตร์
๑. เวียงพางคำ เวียงพานคำ เวียงพาน สถานที่ตั้ง เวียงพางคำ ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณรอบ ที่ว่าการอำเภอแม่สายทั้งสองฟากถนนพหลโยธิน แนวเขตด้านเหนืออยู่ห่างจากชายแดนติดต่อกับอำเภอท่าขี้เหล็ก ของสหภาพพม่า ประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ ส่วนแนวเขตด้านใต้อยู่ใต้ที่ว่าการอำเภอประมาณ ๖๐๐ เมตร ส่วนด้านตะวันออก และตะวันตก ของถนนนั้นมีแนวกำแพงเดิมห่างจากถนนด้านละประมาณ ๕๐๐ - ๖๐๐ เมตร ตามความโค้งของถนน
         ประวัติความเป็นมา
             เวียงพางคำ ปรากฏชื่อในตำนานสิงหนติโยนกชัยบุรีศรีเชียงแสน ว่าเป็นเมืองที่บูรณะขึ้นจากเมืองเดิมของ ชาวลัวะที่ชื่อว่า เวียงสี่ทวง ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาย พระองค์พังเสียเมืองโยนกให้แก่ขอมต้องไปพำนักที่เมืองสี่ทวงและ ไปได้พระโอรสที่นี่ คือพระองค์พรหมกุมาร พระองค์พรหมกุมารอายุได้ ๑๖ พรรษา ก็ปราบขอมได้โยนกคืน จนถึงตัวที่สาม และทรงพระสุบินว่า จะได้พญาช้างเผือกสามเชือกมาเป็นช้างคู่บารมี วันต่อมาพบงูใหญ่ลอยมาตามแม่น้ำโขง ก็ปล่อยให้ ผ่านไปสองตัว จึงสงสัยว่า อาจเป็นเป็นช้างที่ปรากฏในฝัน จึงคล้องไว้ และพบว่าเป็นช้างจริง แต่ช้างไม่ยอมขึ้นจากน้ำปุโรหิต แนะนำให้นำทองคำ มาตีเป็นพานอัญเชิญขึ้นช้างจึงยอมขึ้นจากน้ำ และพาพระยาพรหมไปยังเวียงสี่ทวง พระยาพรหม ได้ปรับปรุง และปฎิสังขรณ์ เวียงสี่ทวงใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น
เวียงพานคำ ในภายหลังเวียงพางคำได้รับการบูรณะ ปรับผังเวียงแล้ว กลายเป็นเมืองร้าง ไปหลายศตวรรษ โดยไม่ปรากฎบทบาทใน ตำนานหรือประวัติศาสตร์อีก
ลักษณะทั่วไป
             เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวในแนวทิศเหนือ - ใต้ ขนาด ๕๐๐ x ๑ , ๕๐๐ เมตร มีคูเมืองชั้นเดียว
กว้าง ๑๕ . ๒๐ เมตร สูง ๓ เมตร
หลักฐานที่พบ
             ปัจจุบันนี้ร่องรอยเดิมของเวียงพางคำได้แก่แนวกำแพงและคูน้ำลึก ซึ่งบางจุดก็ปรากฏครบทั้งสองอย่าง บางแห่ง เหลือเพียง คูน้ำลึก และบางแห่งอาศัยลำห้วยธรรมชาติกับเนินเขา ดังนี้
             ๑ . ทิศเหนือ มีแนวกำแพงที่ด้านเหนือของวัดเวียงพาน กับเหลือกำแพงเล็กน้อยด้านตะวันออกของถนน
ซึ่งขนานไปกับถนนไปโรงฆ่าสัตว์
             ๒ .ทิศตะวันออก ถึงมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณบ้านป่ายางเหลือกำแพงกับคูน้ำลึกเป็นแห่งๆ
             ๓ .ทิศใตปรากฏแนวกำแพงชัดเจนทางฟากตะวันตกของถนน เป็นแนวกำหนดเขตแดนของสถานีโรงยาสูบแม่สาย
             ๔ .ทิศตะวันตก เป็นด้านที่มีร่องรอยมากกว่าด้านอื่น คือ ที่หลังวัดเวียงพานหลังโรงพยาบาลแม่สายหลัง วัดพรหมวิหาร และหลังสถานีใบยาสูบแม่สาย มีทั้งกำแพงและคูน้ำลึก นอกจากนี้มีคูน้ำธรรมชาติหลังโรงเรียน ดรุณราษฎร์วิทยา และคูน้ำ หลังอาคารที่ว่าการอำเภอแม่สาย

 ๒ . เวียงเชียงแสน
            อาณาเขต
                เมื่อแรกสร้าง มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนทั้งหมด มีอาณาเขต
            ทิศเหนือ ติดต่อกับเมืองกายสามเท้า
            ทิศใต้
ติดต่อกับเมืองเชียงราย ที่ตำบลแม่เติม
            ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ เมืองเชียงของที่ตำบลเชียงชี
               ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดต่อกับแดนฮ่อที่ตำบลเมืองหลวง
               และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ติดต่อกับเมืองฝาง ที่กิ่วคอสุนัข หรือกิ่วสไต
            ประวัติศาสตร์เชียงแสน จังหวัดเชียงราย

             เมืองประวัติศตร์ที่ผสมผสานระหว่างอดีตกับปัจจุบันในเขตจังหวัดเชียงรายที่สำคัญได้แก่ เมืองเชียงแสน เนื่องจาก มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างชัดเจน และยังปรากฏร่องรอยโบราณวัตถุโบราณสถานหลายแห่ง จากหลักฐาน โบราณคดี สันนิษฐานว่า การสร้างเมืองคงเริ่มขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นต้นมา ตามที่ระบุไว้ในชุนกาลมาลีปกรณ์ และพงศาวดาร โยนก เพราะศักราชดังกล่าวใกล้เคียงกันใกล้เคียงกันมาก รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องกันมาสัมพันธ ์กับรูปแบบ อายุสมัย ของของ โบราณวัตถุสมัยประวัติศ่สตร์ที่สร้างขึ้นทั้งใน
และนอกตัวเมืองซึ่งมีอายุหลังกลางพุทธ ศตวรรษที่ 19 ลงมาทั้งสิ้น พ . ศ . ๒๔๘๒ ทางราชการเปลี่ยนชื่ออำเภอเชียงแสนเป็นแม่จัน และย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ ี่แม่จันห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมประมาณ ๓๐ กิโลเมตร ตำบลที่ตั้งที่ว่าการอำเภอนี้เรียกว่าเชียงแสนใหม่ หรือ เชียงแสนแม่จัน ส่วนเมืองเชียงแสนนั้นมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ต่อมาในปี พ . ศ ๒๕๐๐ จึงยกฐานะเป็นอำเภอเชียงแสน และรัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการฟื้นฟูบูรณะอำเภอเชียงแสนขึ้น    โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการฟื้นฟูบูรณะและ อนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญในเมืองเชียงแสน ตั้งแต่พ . ศ . ๒๕๐๐ เป็นต้นมา ปัจจุบันร่องรอยของโบราณสถานในอำเภอ เชียงแสนที่หลงเหลือให้เห็น มักเป็นซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้าง ในพุทธศาสนา ได้แก่ พระเจดีย์ และพระวิหาร ซึ่งส่วนใหญ่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน และมีวัดอยู่ทั้งสิ้น ๑๔๐ วัด แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ วัดในเมือง ๗๖ วัด และวัดนอกเมือง ๖๕ วัด การเรียกชื่อวัดต่าง ๆ ได้ยึดถือจากตำแหน่งที่ระบุไว้ในพงศาวดารล้านนาซึ่ง เขียนขึ้นภายหลัง โบราณสถานที่สำคัญและน่าสนใจ ได้แก่
            วัดพระธาตุจอมกิตติ
            ตั้งอยู่บนดอยจอมกิตติ นอกเมืองเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๑ . ๗ กิโลเมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ เจดีย์จอมกิตติที่ตั้งบนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเตี้ย ๆ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำย่อมุมซ้อนกันสี่ชั้นรองรับเรือนธาตุ ย่อมุมเช่นกัน มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนทั้งสี่ด้าน ส่วนยอดทำเป็นกลีบมะเฟืองรองรับปล้องไฉนและ ปลียอดส่วนเจดีย์ จอมแจ้งและเจดีย์สวนสนุกนั้นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ตำนานการสร้างพระธาตุจอมกิตติค่อนข้างจะ สับสนเพราะมีการสร้างถึง ๒ ครั้งกล่าวคือ ครั้งแรก พระเจ้าพังคราชและ พระเจ้าพรหมมหาราช พระราชโอรส โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อพ . ศ . ๑๔๘๓ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุกระดูกหน้าผาก กระดูกอก กระดูกแขนของ พระองค์ สมัยเดียวกับการสร้างพระธาตุจอมทอง ของเมืองเชียงราย ครั้งที่ ๒ พระเจ้าสุวรรณคำล้าน เจ้าเมืองเชียงแสน ให้หมื่นเชียงสงสร้างขึ้นเมื่อปี พ . ศ . ๒๐๓๐ ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระยอดเชียงราย ก่อสร้างเจดีย์ครอบองค์เดิม ต่อมา พระธาตุฃำรุด ทรุดโทรมมาก เจ้าฟ้าเฉลิมเมืองพร้อมด้วย คณะศรัทธาได้บูรณะปฏิสังขรณ์อีกเมื่อปี พ . ศ . ๒๒๒๗ จากรูปทรงสถาปัตกรรมขององค์เจดีย์ที่ปรากฎในปัจจุบัน พระเจดีย์ องค์นี้ ไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ส่วนพระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มทิศ ( ส่วนที่เป็นของเดิม ) คงจะซ่อมเสริมสร้างขึ้น ภายหลัง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓ ปัจจุบันเจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะเสริมสร้างมั่นคงและปิดทองแผ่นทอง จังโกใหม่
            วัดพระธาตุผาเงา
            ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปตามเส้นทางเชียงของ - เชียงแสน ประมาณ ๕ กิโลเมตร อยู่ตรงข้ามโรงเรียนบ้านสบคำ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีเนื้อที่ประมาณ ๑๔๓ ไร่ สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระธาตุ ผาเงา ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กตั้งอยู่บนก้อนหินใหญ่ ซึ่งบูรณะขึ้นใหม่ แต่เดิมเป็นวัดร้าง ชาวบ้านสบคำ ต้องการย้ายวัดสบคำ จากที่เดิมที่ถูกแม่น้ำโขงกัดเซาะพังทลาย จึงมาฟื้นฟูวัดร้างนี้ขึ้นเป็นวัดดังเดิม พ . ศ . ๒๕๒๑ วิหารหลังปัจจุบัน สร้างทับวิหารเดิม ภายในวิหารแห่งนี้ได้พบพระพุทธรูปปูนปั้น บริเวณหน้าตักพระประธานที่เรียกว่า หลวงพ่อผาเงา เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๑๙ สืบเนื่องมาจากตอนที่คณะศรัทธาวัดพระธาตุผาเงาจะทำพิธียก พระประธานขึ้น เพื่อทำการบูรณะ ระหว่างการดำเนินการได้ ค้นพบพระพุทธรูปดังกล่าวค้นพบพระพุทธรูปดังกล่าว ถูกฝังใต้ฐานชุกชี พระประธานใหญ่ พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระหนุ เป็นปม พระรัศมีเป็นเปลว แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ บนเขาด้านหลังวัด เป็นที่ตั้งของพระบรม นิมติเจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อร่วมฉลองกรุงรัตนโกสินทร ์ ๒๐๐ ปี และ เทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ไทย โดยมีท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช เป็นประธาน พร้อมคณะศรัทธาอีกหลายท่าน นอกจากนี้ บนยอดเขายังสามารถมองเห็น ทัศนียภาพอันสวยงาม ของตัวเมืองเชียงแสนได้โดยรอบ
             เวียงหนองล่ม
            ตั้งอยู่ที่เขตติดต่อระหว่างตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน กับตำบลจันจว้าอำเภอแม่จัน จากหลักฐานที่ได้จากการสำรวจ สันนิษฐานว่าอยู่ระหว่างยุคหินใหม่ ถึงไม่เกินพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ตำนานและพงศาวดารหลายเล่มกล่าวตรงกันว่า เจ้าชายสิง-หนวัติ พาผู้คนมาหาที่ตั้งเมืองพอมาถึงแม่น้ำโขง ก็พบนาคจำแลงเป็นชายมาบอกสถานที่สร้างเมือง จึงตั้ง เมืองโยนกนาค พันสิงหนวัติ โดยเอาชื่อองค์ผู้สร้างเมืองรวมกับชื่อนาค หรือโยนกนครหลวง มีกษัตริย์ปกครองสืบจน ถึงสมัยพระเจ้ามหาไชยชนะ ผู้คนจับปลาไหลเผือกได้ที่แม่น้ำกก จึงนำมาแบ่งกันกินทั่วเมือง เว้นแต่หญิงม่ายนางหนึ่ง ไม่มีลูกหลานไม่มีใครให้กิน ตกกลางคืนเกิดแผ่นดินไหว เมืองถล่มลงเหลือแต่บริเวณบ้านของหญิงม่ายจึงเรียกน้ำนั้น ว่าเกาะแม่ม่าย และเรียกเมืองนั้นว่า เวียงหนองล่ม หรือเวียงหนอง จากโครงการอนุรักษ์เมืองโบราณและประวัติศาสตร ์เชียงแสน มีการสำรวจพื้นที่ของเวียงหนองล่ม หลายครั้ง
            เกาะดอนแท่น หรือเกาะหลวง

            เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความคลุมเครือในเรื่องสถานที่ตั้ง แต่มีปรากฏในตำนานและพงศาวดารหลายเล่ม ต่างกล่าวตรงกันว่าเมื่อพระเจ้าแสนภูสร้างเมืองเชียงแสน ทรงประทับอยู่ในวังบนเกาะดอนแท่นที่บริเวณหน้าเมืองเชียงแสน จนสวรรคต และตั้งพระบรมศพบนเกาะดอนแท่นระยะหนึ่ง นอกจากนี้ เกาะดอนแท่นยังมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนาด้วย กล่าวคือ สมัยพระเจ้ากือนาครองเมืองเชียงใหม่ ทรงนำพระสีหลปฏิมาทำพิธีอภิเษกพระบน เกาะดอนแท่น แล้วนำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย ราวพ . ศ . ๑๙๒๖ พระมหาเถรเจ้าศิริวังโน นำเอาพระพุทธรูปสององค์ เรียกว่า พระแก้วและพระคำ มาสร้างเป็นวัดพระแก้ว และวัดพระคำบนเกาะดอนแท่น สมัยพระเจ้าอติโลกราช ทรงให้ร้อยขุนกับสิบอ้านนิมนต์พระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์องค์หนึ่งจากจอมทอง เมืองเชียงใหม่ ที่เอามาจากเมืองลังกา มาประดิษฐานไว้ที่เกาะดอนแท่น พร้อมทั้งปลูกต้นโพธิ์ไว้ด้วยและเป็นที่เคารพสักการะของชาว เชียงแสนต่อมา เกาะดอนแท่น พังทลายลงในแม่น้ำโขงเมื่อใดไม่มีผู้ใดทราบ เนื่องจากเมืองเชียงแสนร้างไปตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถึงรัชกาลที่ ๕ จึงฟื้นฟูขึ้นมาเป็นบ้านเมืองอีกครั้ง ส่วนพระแก้วพระคำนั้น มีผู้สันนิษฐานว่า พระแก้วนั้นอาจจะไปอยู่กับ ผู้อพยพชาวไทยยวน เมืองเชียงแสน ไปอยู่ที่เมืองลำปาง สำหรับพระคำไม่มีปรากฏว่า ไปอยู่ที่ใด เคยมีการสำรวจหาที่ตั้ง ของเกาะดอนแท่น หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากกระแสน้ำ เชี่ยวกราด น้ำเย็นจัด ประกอบทัศนวิสัยใต้น้ำของแม่น้ำโขงเท่ากับศูนย์ ไม่สามารถ มองเห็นใต้น้ำด้วยตาเปล่า จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการสำรวจ หาที่ตั้งของเกาะดอนแท่นอย่างเป็นทางการ เนื่องจาก แม่น้ำโขง เป็นเส้นทางแบ่งพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทย - ลาว เมื่อมิได้มีการขออนุญาตอย่างเป็นทางการการสำรวจ ไม่สามารถกระทำได้ เพราะจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ

๓ . เวียงกาหลง
              เมืองโบราณเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการค้นพบเตาและชิ้นส่วนภาชนะต่าง ๆ
อยู่ในทั่วไปไปในบริเวณ มีแนวคันดินแลคูเมืองเดิมยังหลงเหลืออยู่บางส่วน เวียงกาหลง สันนิษฐานว่าได้สร้างขึ้นในสมัย
พุทธศตวรรษที่ ๕ ( พ . ศ . ๕๐๐ - ๕๙๙ ) ซึ่งปรากฎตามหลักฐานในหนังสือพงศาวดารชาติไทยเล่ม ๒ ของ
พระบริหารเทพธานี ได้กล่าวถึงแว่นแคว้นยวนเชียง ( หน้า ๔ บรรทัดที่๔ - ๖ ) ว่า " เมื่อภายหลัง พ . ศ . ๕๙๐ แว่นแคว้นยวนเชียงก็แยกตั้งบ้านเมืองออกไปทางทิศตะวันตกอีกหลายเมือง เช่น เวียงกาหลง ( เวียงป่าเป้า )เวียงฮ่อ ดงเวียง เมืองวัง(วังเหนือ)แจ้ห่มเป็นต้น " และในหนังสือประวัติศาสตร์เชียงราย ซึ่งจัดพิมพ์ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ หน้า ๑๓ ก็ปรากฏความคล้ายกันคือ " ในราวพุทธศตวรรษที่ ๕ มีพวกไทยถอยร่นจากตอนใต้ประเทศจีนปัจจุบัน มาสมทบกับพวกไทยที่เมืองเชียงลาวเพิ่มขึ้นมากทุกที ซึ่งขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปอีก เรียกว่า แคว้นชุนยาง
หรือยวนเชียว มีอาณาเขตแผ่ไปถึงหลายเมือง เช่นเวียงกาหลง ( เวียงป่าเป้า ) แจ้ห่ม เวียงฮ่อ ดงเวียง เวียงวัง ( วังเหนือ )และเชียงแสน
ทั้งนี้ภายหลัง พ . ศ.๕๙๐ เป็นต้นมา เมืองโบราณเวียงกาหลงตั้งอยู่บ้านป่าส้าน หมู่ที่ ๕ ตำบลเวียงกาหลงห่างจากเส้นทาง
หลักสายเชียงใหม่ - เชียงราย แยกเข้าทางหลวง จังหวัดหมายเลข ๑๐๓๕ ไปทางอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ประมาณ
๓ กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่เมืองโบราณเวียงกาหลง ตั้งอยู่บนเนินดิน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ. ศ.๔๙๙ - ๕๐๐
ในปัจจุบันมีสิ่งที่พอที่จะเห็นได้คือ แนวกำแพงเมืองชั้นนอกและชั้นใน และสิ่งที่สำคัญที่พบในบริเวณใกล้เคียง คือเตาเผา
เครื่องเคลือบดินเผา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเรียกว่า" เตาแบบเวียงกาหลง"ชื่อของเครื่องถ้วยเวียงกาหลงเริ่มเป็นที่รู้จักตั้งแต่ปี
พ . ศ.๒๔๖๗ เป็นต้นมานับแต่พระยานครพระราม( สวัสดิ์ มหากายี ) สำรวจพบซากเตาเผาจำนวนมาในพื้นที่ใกล้เคียงกับ
เมืองโบราณเวียงกาหลง และได้เขียนบทความผลการสำรวจและศึกษาวิเคราะห์ลงตีพิมพ์ในวารสารของสยามสมาคมเมื่อปี
พ . ศ . ๒๔๘๐ ต่อมาได้มีผู้ใหญ่บ้านของบ้านป่าส้านอ้างว่า ตนได้ฝันเห็น เตาเผาที่ใช้ผลิตเครื่องถ้วย ซึงได้ทำการขุดค้น
ด้วยตนเองและพบเตาเผาในบริเวณบ้านและได้เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าชมแหล่งเตาเวียงกาหลงมีพื้นที่กว่า ๑๕
ตารางกิโลเมตร เครื่องถ้วยเวียงกาหลงมีลักษณะเด่น คือ เป็นเครื่องถ้วยที่มีน้ำหนักเบา เนื้อบาง เนื่องจากเนื้อดินที่นำมาใช้ทำ
การปั้นภาชนะมีคุณสมบัติดี เนื้อดินมีสีขาว สีเหลืองนวลหรือสีเทา เนื้อละเอียด มีเม็ดทรายเล็ก ๆ ปะปนบ้างเล็กน้อย
สามารถขึ้นรูปภาชนะสามารถขึ้นรูปภาชนะได้บางกว่าเครื่องถ้วยที่ผลิตจากแหล่งเตาอื่น ๆ ส่วนการเคลือบนั้นนิยมเคลือบ
ถึงบริเวณเชิงของภาชนะน้ำเคลือบใส มีทั้งสีฟ้าอ่อนสีเขียวอ่อนและมีสีเหลืองอ่อน    


หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (053)

สมาคมท่องเที่ยวเชียงราย

711-062

สำนักงานจังหวัดเชียงราย

711-123

ประชาสัมพันธ์จังหวัด

711-870

ตำรวจท่องเที่ยว

717-779

ตำรวจทางหลวง

742-441

สถานีตำรวจภูธร อ.เมือง

711-444

ท่าอากาศยานเชียงราย

793-048

บริษัท การบินไทย จำกัด

711-179, 713-663

สถานีขนส่งจังหวัด

711-224

โรงพยาบาลเชียงราย

711-300